โบราณสถานเขาพระนารายณ์

เขาพระนารายณ์หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเขาศรีวิชัย  ตั้งอยู่ในเขตหมู่๑ บ้านหัวเขา อำเภอศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นภูเขาลูกโดดมีความสูงจากพื้นราบ 33 เมตร โดยมีคลองบางร่อนทองและคลองพุนพินไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออก ในอดีตภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นป่ารก  ทำไห้การสำรวจในช่วงแรกเป็นไปอย่างลำบาก โดยการสำรวจในครั้งนี้ได้พบเนินโบราณสถานบนสันเขา 8 เนิน เนินโบราณสถานบริเวณเขาด้านทิศตะวันออก 3 เนิน และเนินโบราณสถานบริเวณเชิงเขาด้านทิศตะวันตก 8 เนิน

สาเหตุที่ภูเขาแห่งนี้ได้ชื่อว่าเขาพระนารายณ์ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งกองทัพพม่าเข้ามารุนรานภาคใต้ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นั้น กองทัพพม่าได้ยกมาถึงบ้านหัวเขาและเที่ยวกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย ชาวบ้านจึงพากันหนีขึ้นไปบนภูเขาซึ่งเป็นประดิษฐานเทว

รูปพระนารายณ์เก่าแก่เมื่อทหารพม่าตาขึ้นไปกลับได้ยินเสียงอื้ออึงแต่มาพบชาวบ้านแม้แต่คนเดียว ทหารพม่าเห็นโกรธาเป็นอย่างยิ่ง จึงใช้ดาบฟันแขวนเทวรูปจนหักแล้วถอยทัพกลับไปนับแต่นั้นชาวบ้านจึงนับถือความศักดิ์สิทธ์แหล่งเทวรูปพระนารายณ์ จึงเรียกขานนามของภูเขาลูกนี้ว่าเขานารายณ์และเรียกบริเวณที่ประดิษฐานองค์เทวรูปฐานนพระนารายณ์และจัดไห้มีประเพณีสรงน้าเทวรูปพระนารายณ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ต่อเนื่องมาทุกปี จนกระทั้งทางราการได้อัญเชิญเทวรูปพระนารายณ์ไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิณฑภัณฑสถานแห้งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อราวพุทธศักราช 2470 ประเพณีดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง

จากการศึกษาทางด้านโบราณคดีทีผ่านมาทำไห้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยของชุมชนในพื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 22 โดยเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นโดยรอบทั้งที่อยู่ในภาคพื้นทวีปและดินแดนโพ้นทะเลจากการติดต่อค้าขายจนเจริญรุ่งเรือง และรับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงมีการสร้างแบบจำลองทิพย์วิมานของทั้งพระศิวะและพระนารายณ์สถิตอยู่บนภูเขาแห่งนี้ รวมทั้งพบว่ามีการรับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาด้วย ซึ่งมีผลไห้มีการปรับปรุงปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างทั้งบนภูเขาและพื้นที่โดยรอบมาตลอดในช่องระยะหนึ่ง ก่อนที่พื้นที่ในบริเวณนี้จะถูกทิ้งร้างไป

กรมศิลปากรได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติกำหนดไห้ เขานารายณ์ ตำบลพุนพิน อำเภอท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 หน้า 1533 ลงวันที่ 27 กันยายน 2479 และในพุทธศักราช 2544 กรมศิลปากรได้ออกประกาศเรื่องกำหนดเขตที่ดินโบราณ กำหนดเขตโบราณเขานารายณ์(เขาศรีวิชัย)ตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ 95 ไร่3 งาน 15 ตารางวา ตามประกาศในราชกิจนุเบกษาเล่ม 118 ตอนพิเศษ33ง ลงวันที่ 9 เมษายน 2544

สิ่งที่น่าสนใจ

โบราณสถานหมายเลข 7 บนเขาพระนารายณ์ (เขาศรีวิชัย) นี้ เป็นอาคารก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สภาพในปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐาน เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาทำเป็นบันไดทางขึ้นที่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพียงทิศเดียว ลักษณะของฐานหลังจากได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว เป็นลักษณะเป็นฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกัน ด้านบนอาคารมีห้องคูหาซึ่งน่าจะป็นห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพและประกอบพิธีกรรม จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา แสดงให้เห็นว่าอาคารหลังนี้น่าจะมีการใช้เครื่องไม้มาประกอบเป็นอาคารด้วย จากโบราณวัตถุและโบราณสถานข้างเคียง จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานหมาย 7 นี้ น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 13-15

การเดินทาง

เดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ตามถนน 420  แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนน 4260 และเลี้ยงขวาเขาสู่ถนนวริสมุทร ไปยังตำบลเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน

ช่วงเวลา ฤดูกาลที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
เดือนมกราคม – เมษายน

กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่

ทำบุญไหว้พระปฏิบัติธรรม

มีการจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน

สักการะพระบรมสารีริกธาตุบนเจดีย์ลอยฟ้า

ชื่นชมทะเลหมอก

 

Services

มีที่จอดรถ

แนวปฏิบัติของพื้นที่

ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น

ไม่ขีดเขียนหรือทำสัญลักษณ์ใดๆลงบนโบราณวัตถุ

แผนที่

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง

ชุมชนบางใบไม้

วัดเขาพระอานนท์

contact

  • การให้บริการ : ทุกวันทำการ
  • ที่อยู่ : โบราณเขาพระนารายณ์(เขาศรีวิชัย) ตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีวิชัย โทรศัพท์ 077 491249